เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์ ได้เจิมป้ายหอศิลปาจารย์ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ บุคคลดีเด่นของชาติ จากนั้น ดร.หม่อมหลวงสราลี กิติยากร ประธานฆารวาส ได้เป็นประธานเปิดหอศิลปาจารย์ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มาเที่ยวชมหอศิลปาจารย์ท่านแรกของประเทศไทย ซึ่งภายในได้มีการจัดแสดงนิทรรศการ ความเป็นมา ประวัติ ของจ่าสิบเอก ดร.จ่าทวี บูรณเขตต์ และการแสดงพระพุทธชินราชจำลองรุ่นต่าง ๆที่ผ่านการหล่อหลอมของฝีมือจ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ มาตลอดกว่า 50 ปี
จนเป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นครูในด้านการหล่อพระพุทธรูป โดยเฉพาะการหล่อพระพุทธชินราชจำลองอย่างสวยงาม ด้านนายอนุกูล ใบไกล ผู้อำนวยการกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้กล่าวว่า การยกย่องเชิดชูเกียรติ ศิลปินแห่งชาติ ผู้มีผลงานดีเด่น และผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับศิลปาจารย์เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้ที่มีคุณูปการทางด้านศิลป ซึ่งจะเป็นคนละประเภทกับศิลปินแห่งชาติ เพราะศิลปินแห่งชาตินั้น เราแบ่ง 3 สาขา คือสาขาศิลปการแสดง สาขาวรรณศิลป์ และสาขาทัศนศิลป์
แต่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้เล็งเห็นว่ายังมีครูช่างจากทั่วประเทศเลยที่มีความรู้ความสามารถ ไม่น้อยกว่าศิลปินแห่งชาติ และเป็นครูผู้ให้ เป็นครูผู้ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆให้กับลูกศิษย์ลูกหามาโดยตลอด เป็นผู้สืบสาน และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่ดีของชาติ เราน่าจะมีรางวัลสำหรับบุคคลเหล่านี้ ท่านอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมในขณะนั้น ท่านได้ให้คณะศิลปินแห่งชาติมากำหนดหลักเกณฑ์รูปแบบต่างๆและได้พิจารณา

และเมื่อปี 2565 ได้มอบรางวัลศิลปาจารย์ท่านแรก เป็นบุคคลผู้ให้ผู้ที่เป็นครู ผู้ที่สืบสานต่อยอดมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาติเป็นที่ยอมรับ เป็นที่รู้จัก เป็นที่ประจักชัด นั่นคือ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ นั่นเอง จากนั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธพจวชิรมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร ได้ทำการเจิมป้าย หอศิลปาจารย์ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ บุคคลดีเด่นของชาติ เพื่อความเป็นสิริมงคล และได้เชิญคณะประธาน ดร.หม่อมหลวงสราลี กิติยากร นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
และผู้หลักผู้ใหญ่ได้เดินชมภายในหอ ป้าย หอศิลปาจารย์ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ บุคคลดีเด่นของชาติ ซึ่งภายในหอศิลป์ฯ ได้รวบรวมเรื่องราวประวัติของจ่าสิบเอกทวี บูรณะเขตต์ และเหตุการณ์สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก รวมถึงประวัติของการจัดสร้างองค์พระพุทธชินราชต่างๆ และภายในหอศิลป์ฯได้บรรจุรางวัลต่างๆของ จ่าสิบเอกทวี ที่ได้รับ และสิ่งที่ภูมิใจมากที่สุดในชีวิต คือการได้ปั้นพระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตัก 69 นิ้วให้กับ 2 ราชการได้ทรงกราบ คือ รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 โดยพระองค์นี้ได้ประดิษฐานอยู่ที่วิหารเซียน จ.ชลบุรี
และห้องการจัดแสดงพระพุทธชินราช รุ่น ภปร.ที่นำผ้าทิพย์และพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประดิฐไว้ที่ผ้าทิพย์ด้านล่างขององค์พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่มียอดสั่งจองจำนวนมาก มีพระเกจิอาจารย์ทั่วฟ้าเมืองไทยมาพุทธาภิเษกรุ่นนี้เยอะที่สุด รวมไปถึง พระพุทธชินราชมาลาเบี่ยง และการจัดแสดงพระเก่าก่อนปี พ.ศ.2520 ที่ จ่าสิบเอกทวีฯ ได้ปั้น อาทิ พระพุทธชินราช พิธีมหาจักรพรรดิ์ ที่สร้างในปี พ.ศ.2515 รุ่น มวก.และรุ่นอื่นๆอีกหลากหลาย